วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีพูด ติดต่อสื่อสารทางวิทยุ


1. การพูดติดต่อสื่อสารทางวิทยุ ต้องพูดอย่างชัดเจน สั้น กะทัดรัดและได้ใจความ
2. วิธีเรียกผู้ที่เราจะติดต่อด้วย ครั้งแรกมีวิธีเรียก คือ
      2.1 "ชื่อหรือนามเรียกขาน ที่จะติดต่อด้วย"
      2.2 "จาก"
      2.3 "ชื่อหรือนามเรียกขาน ของเรา"
      2.4 "เปลี่ยน"


ตัวอย่าง สมมุติเราชื่อ "ธรรมราช 15" ต้องการติดต่อกับ "ธรรมราช 12"
พูดว่า "ธรรมราช 12" จาก "ธรรมราช 15" เปลี่ยน
ผู้ที่เราติดต่อ ก็จะตอบว่า "ว.2 เปลี่ยน"
เราก็แจ้งข้อความที่จะติดต่อได้เลย

3. เวลาพูดต้องกดคีย์ก่อนประมาณ 2 วินาที ก่อนจะพูด และเมื่อพูดเสร็จ ก็ค่อยปล่อยคีย์ หลังพูดเสร็จ สัก 2 วินาที เพื่อป้องกันข้อความขาดหาย
4. เวลาพูด ไมค์วิทยุต้องห่างจากปากประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกันเสียงแตก คนรับจะได้รับข้อความชัดเจน

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โค้ด ว. วิทยุสื่อสาร

       โค้ด ว. วิทยุสื่อสาร ที่เราได้ยิน มีใช้ในหน่วยงานราชการและเป็นที่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร และนี้ก็คงเป็นสาเหตุที่ทำให้วิทยุสื่อสาร ถูกเรียกว่า วอ




ว.0 ขอทราบคำสั่ง คำสั่ง
ว.00 รอก่อน ให้คอยก่อน
ว.01 ที่ทำงาน ที่โรงเรียน
ว.02 ที่บ้าน
ว.1 จุดที่กำลังออกอากาศ
ว.2 ได้ยินหรือไม่/ได้ยินแล้ว
ว.3 ทวนข้อความ
ว.4 ปฏิบัติหน้าที่ ดำเนินการ
ว.5 ราชการลับ
ว.6 ขอติดต่อ
ว.7 ขอความช่วยเหลือ
ว.8 ข่าว, ข่าวสาร ข้อความ
ว.9 เหตุฉุกเฉิน
ว.10 อยู่ประจำที่ ติดต่อทาง ว.ได้
ว.11 หยุดพัก ติดต่อทาง ว. ได้
ว.12 หยุดพัก ติดต่อทาง ว.ไม่ได้
ว.13 ติดต่อทางโทรศัพท์
ว.14 เลิกงาน ปิดสถานี
ว.15 พบ
ว.16 ทดสอบสัญญาณวิทยุ
ว.16-1 จับใจความไม่ได้
ว.16-2 ไม่ชัดเจน แต่พอฟังได้
ว.16-3 ชัดเจนพอใช้
ว.16-4 ชัดเจนดี
ว.16-5 ชัดเจนดีมาก
ว.17 มีอันตราย
ว.18 รถเสีย
ว.19 ถูกโจมตี สถานีถูกปิด
ว.20 จับกุม
ว.21 ออกเดินทางจาก...(สถานที่)
ว.23 ผ่าน...(สถานที่)
ว.24 เวลา
ว.25 ไปยัง...(สถานที่)
ว.26 ให้ติดต่อทางวิทยุให้น้อยที่สุด
ว.27 ติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28 ประชุม
ว.29 ธุระ
ว.30 จำนวน คน สิ่งของ
ว.31 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 1
ว.32 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 2
ว.33 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 3
ว.34 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 4
ว.35 ให้เตรียมพร้อมเพื่อปฏิบัติการ
ว.36 ให้เตรียมพร้อมเต็มอัตรา
ว.37 ให้เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
ว.38 ให้เตรียมพร้อม 1 ใน 3
ว.39 การจราจรติดขัด
ว.40 อุบัติเหตุจากรถ
ว.41 สัญญาณไฟจราจรเสีย
ว.42 การเดินทางเป็นขบวน
ว.43 จุดตรวจสอบยานพาหนะ
ว.44 โทรสาร
ว.45 เหตุการปกติ
ว.50 รับประทานอาหาร
ว.51 ป่วย
ว.52 ยกเลิก
ว.53 อยู่ร้านอาหาร
ว.54 อยู่โรงแรม
ว.55 ผกก. มาตรวจ
ว.56 เพื่อนมา
ว.57 กำลังโดยสารทางเรือ
ว.59 เปลี่ยนทิศทาง
ว.60 ญาติ เพื่อน
ว.61 ขอบคุณ สวัสดี

           คนที่ใช้วิทยุอยู่เป็นประจำอย่างผมก็คงจะคุ้นเคยกันดีกับ โค้ด ว. แต่ก็มีอยู่บางโค้ดที่ไม่ค่อยได้พูดกันบ่อย ก็คือ ว.7 พอได้ยินถึงกับทำอะไรไม่ถูก ฉะนั้นคนที่พูดโค้ด ว. ได้ถูกต้องและกระฉับกระเฉงถือว่าเป็นคนมีเสนห์ ในสายตาคนที่ใช้วิทยุสื่อสารด้วยกัน วิธีที่พูด โค้ด ว. ให้ได้และถูกต้อง ก็ต้องเริ่มจากการฟังก่อน เปิดวิทยุสื่อสาร ฟังเขาพูดก่อน แล้วโค้ดไหนที่เราไม่รู้ก็เปิดดูว่าหมายถึงอะไร วันหลังมีโอกาสพูดก็ลองพูดดู จนเกิความเคยชินไปเอง

ทราบแล้วเปลี่ยน

วิทยุสื่อสาร จะรับ หรือส่งในเวลาเดียวกันไม่ใด้ โดยปกติแล้วเมื่อมีคนกดคีย์พูดก็คือการส่ง เมื่อพูดจบจึงต้องพูดว่า เปลี่ยน หรือ ทราบแล้วเปลี่ยน เพื่อให้อีกฝ่ายรู้ว่าจบข้อความที่จะพูดส่งแล้ว

วิทยุสื่อสาร ที่เห็นใช้กันโดยทั่วไป


1. วิทยุสื่อสารที่ใช้ในหน่วยงานราชการ



2. วิทยุสื่อสารที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น
    หรือที่เรียกกันว่า วีอาร์




                                              

  
3. วิทยุสื่อสารในภาคประชาชน หรือที่เรียกกันว่า วิทยุซีบี 245 เครื่องแดง